หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557

เรียนรู้ลงทุนกับ ก.ล.ต. :: เกษียณอย่างเกษม

ซีรีย์เรียนรู้ลงทุนกับ ก.ล.ต. ได้ดำเนินมาถึงตอนสุดท้ายแล้ว ^_^
สุดท้ายแล้ว ทุกคนก็ต้องเตรียมความพร้อมไว้เพื่อเข้าสู่วัยเกษียณ เพราะเมื่อถึงวัยเกษียณ รายได้จากการประกอบอาชีพจะหายไป ในขณะที่รายจ่ายยังคงมีอยู่ และยิ่งอายุมากขึ้น ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพก็จะเพิ่มขึ้นด้วย รวมถึงราคาสินค้าก็จะแพงขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อ

พอร์ตลงทุนของคนวัยเกษียณควรเป็นอย่างไร ??
- ควรเป็นพอร์ตที่มีความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับต่ำหรือปานกลางถึงต่ำ เพื่อบรรเทาปัญหาหากเกิดความเสียหาย เงินออมควรเน้นที่การฝากธนาคาร ซื้อกองทุนตราสารหนี้ ซื้อหุ้นกู้ พันธบัตร
- เน้นการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนแบบสม่ำเสมอจากการลงทุน เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่าย ลดการดึงเงินต้นออกมาใช้ให้มากที่สุด เช่น เงินฝากธนาคาร ตราสารหนี้ต่างๆ เช่นหุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล กองทุนตราสารหนี้ที่จ่ายเงินคืนระหว่างการลงทุน กองทุนหุ้นที่จ่ายปันผล กองทุนอสังหาริมทรัพย์ กองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จ่ายปันผลสม่ำเสมอ เป็นต้น
- การลงทุนในหุ้น  สินค้าโภคภัณฑ์ สามารถทำได้ในส่วนที่เป็นพอร์ตที่ต้องการผลตอบแทนสูง ซึ่งแบ่งสัดส่วนให้ชัดเจนออกมาจากพอร์ตการออมความเสี่ยงต่ำ

แล้วเราต้องเตรียมเงินไว้เท่าไหร่ สำหรับเกษียณ ...?
ติดตามได้ในการ์ตูนจ้า


ขอขอบคุณเพื่อนๆ สำหรับการติดตามการ์ตูนซีรีส์ “เรียนรู้ลงทุนกับ ก.ล.ต.” ตั้งแต่ตอนที่ 1 ถึงตอนที่ 30 มาอย่างต่อเนื่องจ้า... และพี่เม่ามีข่าวดีมาบอก... ก.ล.ต. ได้นำการ์ตูนทั้ง 30 ตอน นี้มาจัดทำเป็น Animation สีสันสดใสและครบเครื่องเรื่องการเงินและการลงทุนทุกวันจันทร์ – อังคาร ทาง Thai PBS เวลา 11.55 น. (ก่อนข่าวเที่ยง) ฝากติดตามด้วยนะแจ้ะ




 

วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

เรียนรู้ลงทุนกับ ก.ล.ต. :: ตัวเลขมหัศจรรย์ทางการเงิน

หากคุณอยากทราบว่า....
 
ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ เงินลงทุนถึงจะเพิ่มเป็น 2 เท่า ถ้าปัจจุบันลงทุนได้ผลตอบแทนปีละ n% ?
ต้องลงทุนให้ได้ผลตอบแทนปีละเท่าไหร่ เงินลงทุนถึงจะเพิ่มเป็น 2 เท่าในระยะเวลา y ปี ?
 
เราสามารถคิดเร็วๆ ง่ายๆ ด้วยการใช้ตัวเลข 72 (The Rule of 72)
 
สำหรับใครที่อยากรู้ว่า 72 มาจากไหน ลองศึกษาเพิ่มเติมจาก Wikipedia ได้จ้า ^^
 

 

 

วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

[โฆษณา] ที่ปรึกษาทางการเงินส่วนตัว กับ Standard Chartered ประเทศไทย

ถ้าพูดถึงบริการ Wealth Managementของธนาคาร หลายคนคิดว่าต้องมีเงินหลายสิบหลายร้อยล้าน ถึงจะกล้าไปใช้บริการ แต่ตอนนี้มีเพียงสามล้าน ก็สามารถใช้บริการนี้เพื่อรับสิทธิพิเศษต่างๆได้แล้ว!! พร้อมมีที่ปรึกษาส่วนตัวช่วยให้พวกเธอไม่ต้องเสียเวลา และมั่นใจในการลงทุนยิ่งขึ้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม และสมัครได้ที่ https://www.sc.com/th/apply-now/pib-cvp/th/index.html?utm_source=IS_TH&utm_medium=influencers_pibcvp&utm_campaign=Partners




 

วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

เม่าตะลุย DW :: สายสัมพันธ์แม่ลูก

 
นักลงทุนหลายๆ ท่านคงเคยได้ยิน หรือมีประสบการณ์การลงทุนใน DW มาบ้าง แต่ละท่านก็อาจมีทัศนคติต่างๆ กันไป
บางท่านอาจมองว่าเสี่ยงมาก....
บางท่านอาจมองว่าเสียวดี....
บางท่านอาจมองว่าเหมือนเข้าบ่อน....
 
จริงๆ DW ย่อมาจาก Derivative Warrant ชือไทยๆ คือ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ... (แปลไทยฟังแล้วยิ่งงงกว่าเดิมมั้ย)
เป็นตราสารประเภทหนึ่งที่ Broker (บล.) ให้สิทธิ์กับผู้ซื้อ ในการซื้อ (Call DW) หรือ ขาย (Put DW) หุ้นอ้างอิงในอนาคต ที่ราคา จำนวน และเวลาที่กำหนด
เช่น ถ้าต้องการซื้อหุ้น ABC จำนวน 1 ล้านบาท เพราะคาดว่าหุ้นจะขึ้นในอนาคตอันใกล้ แทนที่จะลงทุนด้วยเงินทั้งหมด 1 ล้าน ก็เปลี่ยนไปซื้อ Call DW ที่มี Effective Gearing 5 เท่าแทน ใช้เงินแค่ 2 แสนบาท ค่าคอมมิชชันก็น้อยกว่า แต่ถ้าหุ้นขึ้น ทั้งหุ้น 1 ล้านบาท หรือ DW 2 แสนบาท ก็ได้กำไรเท่าๆ กัน ข้อดีของมันคือได้ผลตอบแทนสูงโดยใช้เงินลงทุนน้อยกว่า และด้วยความที่มีทั้งขาซื้อ (DW Call) และขาขาย (DW Put) จึงสามารถทำกำไรได้ตลอด ไม่ว่าหุ้นขึ้น หรือหุ้นตก ถ้าเก็งถูกทางก็ได้ตังค์
 
การซื้อขาย DW นั้นง่ายมาก เพราะถ้ามีบัญชีซื้อขายหุ้นก็สามารถซื้อ DW ได้เช่นกัน ทำให้นักลงทุนหน้าใหม่ๆ หลายๆ คนที่เห็นผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็วก็เริ่มที่จะสนใจลงทุนบ้าง แต่ยังไม่เข้าใจถึงแก่นแท้ของมัน ซึ่ง DW มีความเสี่ยงมากกว่าหุ้น นักลงทุนที่ซื้อ DW ผิดทาง จะยอมติดดอยถือยาวแบบหุ้น หวังให้ราคากลับขึ้นมานั้นยาก เพราะมูลค่าของ DW นอกจากมูลค่าที่แท้จริง(Instrinsic Value)ที่เกิดจากการอ้างอิงหุ้นแล้ว ยังมีมูลค่าของเวลา(Time Value) ที่จะลดลงทุกวันๆ อีก ภาษาเม่าคือยิ่งถือนานยิ่งดอยสูงขึ้นเรื่อยๆ
 
ซีรีย์ แมลงเม่าตะลุย DW  เป็นความร่วมมือของ Mao investor กับ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) ทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการลงทุนใน DW ให้กับนักลงทุนรายย่อย รวมถึงอุทาหรณ์ข้อผิดพลาดที่นักลงทุนเจอบ่อยๆ ในการลงทุน DW พี่เม่าคาดหวังว่าทุกท่านจะได้รับความสนุกสนานไปพร้อมๆ กับความรู้ด้านการลงทุนที่เพิ่มขึ้นนะจ๊ะ ^^
 

 
 


 

วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

เรียนรู้ลงทุนกับ ก.ล.ต. :: ถึงเวลาประชุมผู้ถือหุ้น

สิทธิของผู้ถือหุ้นไม่ได้มีเพียงแค่การรอรับเงินปันผล หรือรับข้อมูลข่าวสารของบริษัทที่ถือหุ้นอยู่เท่านั้น ยังมีสิทธิและออกเสียงลงคะแนนในการเข้าประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี หรือที่เรียกกันว่า การประชุม AGM  (Annual General Meeting)

การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี เป็นสิทธิพื้นฐานสำคัญของผู้ถือหุ้นในฐานะที่เป็น “เจ้าของร่วม” ของบริษัท จะต้องมีส่วนร่วมในการเข้าไปติดตามการบริหารจัดการของบริษัทรวมถึงการใช้สิทธิออกเสียงในวาระสำคัญ ๆ เช่น การเลือกตั้งคณะกรรมการ ร่วมกำหนดการเพิ่มทุนลดทุน การซื้อหรือขายทรัพย์สิน การทำรายการเชื่อมโยง ซึ่งเรื่องเหล่านี้จำเป็นต้องขอมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นทั้งสิ้น เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองและประกอบการตัดสินใจลงทุน

โดยปกติ การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นต้องจัดขึ้นปีละครั้ง ภายใน 4 เดือนนับตั้งแต่วันสิ้นสุดรอบปีบัญชีของบริษัท ส่วนใหญ่บริษัทมักจะจัดประชุมราวเดือน มีนาคม-เมษายน ของทุกปี ช่วงนี้ก็ใกล้เข้ามาแล้ว อย่าลืมหาเวลาไปเข้าร่วมประชุมนะคะ ขนาดเม่ายังไปเลย...