หนึ่งในเหตุผลที่นำมาซึ่งผลขาดทุนของนักลงทุนทั้งหลายคือ การซื้อขายตาม “ข่าวลือ”
ข่าวลือ คือข่าวที่พูดกันทั่วไป แต่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้แน่นอน ซึ่งในทางการเงิน ความไม่แน่นอนคือความเสี่ยง
ข่าวลือในตลาดหุ้นมีสารพัดเรื่อง เช่น จะมีการเพิ่มทุน จะแจกใบสำคัญแสดงสิทธิ (warrant) จะประมูลโครงการใหญ่สำเร็จ จะซื้อหรือควบรวมกิจการ เป็นต้น ถ้าผู้ลงทุนหลงเชื่อในสิ่งที่ได้ยินทุกเรื่อง โดยไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนซื้อขายหุ้นตัวใดก็ตาม มีโอกาสที่จะขาดทุนมากกว่าโอกาสที่จะได้กำไรแน่นอน
หลายครั้งที่นักลงทุนได้รับข้อมูลจากการบอกต่อกันมา โดยอ้างว่ามีแหล่งที่มาจากคนในบริษัทนั้นๆ อินไซด์สุด ๆ มักจะใช้คำพูดว่า “ข่าวจากคนในเลยนะเนี่ย” “ข่าวอินไซด์ รู้กันไม่กี่คนหรอก” เช่น มีข่าวว่าบริษัท A กำลังจะได้งานประมูลชิ้นใหญ่ ซึ่งจะได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ (อย่าเพิ่งเคลิ้ม เพราะเป็นแค่เรื่องที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเท่านั้น) ซึ่งอนาคตจะเป็นจริงตามข่าวหรือไม่ก็ยังไม่ทราบ
สิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้คือ คนที่ได้รับข่าวนั้นก็แห่กันเข้าไปซื้อหุ้นของบริษัทนั้น เพื่อเก็งกำไร ซึ่งตามหลักอุปสงค์อุปทาน เวลาที่มีคนต้องการหุ้นตัวใดมาก ๆ จะเกิดการแย่งกันซื้อ ราคาจะดีดตัวสูงกว่าความเป็นจริง แต่ในเวลาต่อมา ก็มีข่าวใหม่ออกมาอีกว่าไม่ได้งานประมูลแล้วผลก็คือราคาร่วงกลับมาที่เดิม คนที่หลงเข้าไปซื้อตอนราคาสูงก็เกิดอาการ “ติดดอย” กันถ้วนหน้า
ดังนั้น หากใครเขามาปล่อยข่าว(ดี) แบบนี้ ให้เช็คข้อมูลให้ดีเสียก่อน เพราะเขาคนนั้นอาจจะซื้อหุ้นของบริษัทตุนไว้จนเต็มพอร์ตแล้วแล้วค่อยมาสร้างข่าวว่าหุ้นตัวนั้นจะดี เพื่อให้รุมกันซื้อและราคาหุ้นก็จะสูงขึ้นจนเป็นที่พอใจ แล้วเขา(คนเดิม) ก็จะขายทำกำไร
ในส่วนของ ก.ล.ต. มีหน้าที่กำกับดูแลและตรวจสอบ หากพบว่าผู้ใดมีพฤติกรรมการปล่อยข่าวเท็จที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าราคาหุ้นจะสูงขึ้นหรือต่ำลง หรือผู้ใดก็ตามที่ซื้อขายหุ้นในลักษณะที่นำไปสู่สภาพการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ผิดปกติจนทำให้คนอื่นหลงผิด ผู้นั้นอาจเข้าข่ายมีความผิด ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับเป็นเงินไม่น้อยกว่า 2 เท่าของผลประโยชน์ที่ได้รับ
ถึงแม้ทางการจะมีมาตรการที่เข้มงวดขนาดไหน ผู้ลงทุนควรต้องปกป้องตนเอง โดยการไม่หลงเชื่อข่าวลือง่ายๆ ควรใช้วิจารณญาณในการบริโภคข่าวและหาทางตรวจสอบความถูกต้องของข่าวนั้น ๆ ด้วย เพราะถึงแม้ว่าจะไม่เชื่อข่าวลือแบบปากต่อปาก แต่แหล่งข่าวที่ดูน่าเชื่อถือ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ก็ยังเคยเสนอข่าวผิดหลายครั้ง แหล่งข้อมูลที่จะช่วยยืนยันได้ว่าข่าวนั้นเป็น ข่าวลือ หรือ ข่าวกรอง ก็คือเว็บไซต์ของ ก.ล.ต. www.sec.or.th และเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.set.or.th ถึงอาจจะไม่รวดเร็วทันใจดุจข่าววงใน แต่ก็เชื่อถือได้แน่นอน
พึงระลึกไว้เสมอว่า ตกรถดีกว่าติดดอย นะจ๊ะ
ข่าวลือ คือข่าวที่พูดกันทั่วไป แต่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้แน่นอน ซึ่งในทางการเงิน ความไม่แน่นอนคือความเสี่ยง
ข่าวลือในตลาดหุ้นมีสารพัดเรื่อง เช่น จะมีการเพิ่มทุน จะแจกใบสำคัญแสดงสิทธิ (warrant) จะประมูลโครงการใหญ่สำเร็จ จะซื้อหรือควบรวมกิจการ เป็นต้น ถ้าผู้ลงทุนหลงเชื่อในสิ่งที่ได้ยินทุกเรื่อง โดยไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนซื้อขายหุ้นตัวใดก็ตาม มีโอกาสที่จะขาดทุนมากกว่าโอกาสที่จะได้กำไรแน่นอน
หลายครั้งที่นักลงทุนได้รับข้อมูลจากการบอกต่อกันมา โดยอ้างว่ามีแหล่งที่มาจากคนในบริษัทนั้นๆ อินไซด์สุด ๆ มักจะใช้คำพูดว่า “ข่าวจากคนในเลยนะเนี่ย” “ข่าวอินไซด์ รู้กันไม่กี่คนหรอก” เช่น มีข่าวว่าบริษัท A กำลังจะได้งานประมูลชิ้นใหญ่ ซึ่งจะได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ (อย่าเพิ่งเคลิ้ม เพราะเป็นแค่เรื่องที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเท่านั้น) ซึ่งอนาคตจะเป็นจริงตามข่าวหรือไม่ก็ยังไม่ทราบ
สิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้คือ คนที่ได้รับข่าวนั้นก็แห่กันเข้าไปซื้อหุ้นของบริษัทนั้น เพื่อเก็งกำไร ซึ่งตามหลักอุปสงค์อุปทาน เวลาที่มีคนต้องการหุ้นตัวใดมาก ๆ จะเกิดการแย่งกันซื้อ ราคาจะดีดตัวสูงกว่าความเป็นจริง แต่ในเวลาต่อมา ก็มีข่าวใหม่ออกมาอีกว่าไม่ได้งานประมูลแล้วผลก็คือราคาร่วงกลับมาที่เดิม คนที่หลงเข้าไปซื้อตอนราคาสูงก็เกิดอาการ “ติดดอย” กันถ้วนหน้า
ดังนั้น หากใครเขามาปล่อยข่าว(ดี) แบบนี้ ให้เช็คข้อมูลให้ดีเสียก่อน เพราะเขาคนนั้นอาจจะซื้อหุ้นของบริษัทตุนไว้จนเต็มพอร์ตแล้วแล้วค่อยมาสร้างข่าวว่าหุ้นตัวนั้นจะดี เพื่อให้รุมกันซื้อและราคาหุ้นก็จะสูงขึ้นจนเป็นที่พอใจ แล้วเขา(คนเดิม) ก็จะขายทำกำไร
ในส่วนของ ก.ล.ต. มีหน้าที่กำกับดูแลและตรวจสอบ หากพบว่าผู้ใดมีพฤติกรรมการปล่อยข่าวเท็จที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าราคาหุ้นจะสูงขึ้นหรือต่ำลง หรือผู้ใดก็ตามที่ซื้อขายหุ้นในลักษณะที่นำไปสู่สภาพการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ผิดปกติจนทำให้คนอื่นหลงผิด ผู้นั้นอาจเข้าข่ายมีความผิด ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับเป็นเงินไม่น้อยกว่า 2 เท่าของผลประโยชน์ที่ได้รับ
ถึงแม้ทางการจะมีมาตรการที่เข้มงวดขนาดไหน ผู้ลงทุนควรต้องปกป้องตนเอง โดยการไม่หลงเชื่อข่าวลือง่ายๆ ควรใช้วิจารณญาณในการบริโภคข่าวและหาทางตรวจสอบความถูกต้องของข่าวนั้น ๆ ด้วย เพราะถึงแม้ว่าจะไม่เชื่อข่าวลือแบบปากต่อปาก แต่แหล่งข่าวที่ดูน่าเชื่อถือ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ก็ยังเคยเสนอข่าวผิดหลายครั้ง แหล่งข้อมูลที่จะช่วยยืนยันได้ว่าข่าวนั้นเป็น ข่าวลือ หรือ ข่าวกรอง ก็คือเว็บไซต์ของ ก.ล.ต. www.sec.or.th และเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.set.or.th ถึงอาจจะไม่รวดเร็วทันใจดุจข่าววงใน แต่ก็เชื่อถือได้แน่นอน
พึงระลึกไว้เสมอว่า ตกรถดีกว่าติดดอย นะจ๊ะ
ต่อจากนั้น : และแล้ววันต่อมาหุ้นที่ซื้อตามข่าวดิ่งแดงเถือกทุกตัว ติดดอยมันทุกตัว
ตอบลบไม่ระบุชื่อ19 สิงหาคม 2556, 11:52
ตอบลบต่อจากนั้น : และแล้ววันต่อมาหุ้นที่ซื้อตามข่าวดิ่งแดงเถือกทุกตัว ติดดอยมันทุกตัว
เหอๆๆ เรื่องปกติ ไม่ติดสิแปลก